เปิดคำพิพากษาศาลยกฟ้อง สุเทพ เทือกสุบรรณ ฉบับเต็ม คดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง อดีตนักการเมืองที่เคยห่มผ้าเหลืองลั่นไม่ต้องเป็นแพะแล้วหลังพ้นมลทิน ภายหลังจากคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและพวก เป็นจำเลยที่ 1-6 กรณีร่วมฮั้วประมูลโครงการสร้างโรงพักทดเเทนโครงการก่อสร้างอาคารที่พัก (แฟลตตำรวจ)
โดยล่าสุด คดีมหากาพย์ของนายสุเทพก็สอิ้นสุดลงวันนี้ (20 ก.ย.65)
หลังจาก ศาลอ่านคำพิพากษา “ศาลยกฟ้อง” “สุเทพ เทือกสุบรรณ” จำเลยและมีการแจงยาว 5 หน้ากระดาษ 4 สี่ โดยมีรายละเอยีด ดังต่อไปนี้ ข่าวแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง Criminal Case Division For Persons Holding Political Positions โดยงานประชาสัมพันธ์ แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ฉบับที่ ๑๓ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕
วันนี้ เวลา 9.30 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง อ่านคําพิพากษาคดีหมายเลขดําที่ อม.232564 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ โจทก์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก รวม 5 คน จําเลย
ในความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ และความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยโจทก์ฟ้องสรุป ได้ว่า จําเลยที่ 2 ขออนุมัติหลักการในการดําเนินการประกวดราคาจัดจ้างโครงการก่อสร้างอาคาร ที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง
และโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตํารวจ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเสนอให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติยกเลิกแนวทางในการจัดจ้างโครงการ ก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง ด้วยวิธีการจัดจ้างโดยส่วนกลาง โดยแยก การเสนอราคาเป็นรายภาค (ภาค 1 – 4) และอนุมัติให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ดําเนินการประกาศ ประกวดราคาจัดจ้างก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง ภายในวงเงิน 6,248,000,000 บาท ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยกองโยธาธิการ สํานักงานส่งกําลังบํารุง สํานักงาน ตํารวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานจัดจ้างก่อสร้างทุกอาคารรวมกันในครั้งเดียว โดยไม่ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรี นําเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดจ้างก่อสร้างโครงการ จําเลยที่ 1 อนุมัติตามเสนอ ซึ่งการเสนอเปลี่ยนแปลงการจัดจ้างดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อวงเงินงบประมาณ
ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ กระทบต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางที่กําหนดขึ้นหรืองบประมาณ ที่สูงขึ้นเป็นเงินจํานวน 5,388,000,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคากลางเดิมที่กําหนดไว้จํานวน 6,100,538,900 บาท
การกระทําของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ จําเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคา กับกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ต้องตรวจสอบบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาในการก่อสร้างที่จําเลยที่ 5 โดยจําเลยที่ 6 ยื่น ว่าถูกต้องครบถ้วนและราคาที่เสนอมีความเหมาะสมหรือไม่
หากไม่ถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่เหมาะสม ประการใด จะต้องสั่งให้แก้ไขหรือเจรจาต่อรองราคาต่อไปตามเอกสารการประกวดราคาจ้าง แต่จําเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ไม่ตรวจสอบพิจารณา
สธ. ร่อนประกาศ ยกเลิกโควิดโรคติดต่ออันตราย 1 ต.ค.
กระทรวงสาธารณสุขร่อนประกาศ ยกเลิกโควิดโรคติดต่ออันตราย 1 ต.ค. ลดระดับให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ซึ่งได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 ประกอบด้วย 1)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565 และ 2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับจะมีผลยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป
โดยการยกเลิกโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายนี้ เนื่องมากจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลก มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศก็มีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น จึงสมควรปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) ได้ติดตามและดำเนินการตามแผนงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด19 มาเป็นระยะ ซึ่งรวมถึงการจัดทำกรอบนโยบาย แนวปฏิบัติภายหลังโควิด19 ปรับสู่การเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง แนวปฏิบัติของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เมื่อเข้าสู่ภาวะหลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) ซึ่งที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 23 ก.ย. 65 นี้ จะได้พิจารณาอนุมัติแนวดำเนินการต่างๆ ซึ่งได้เตรียมไว้เพื่อไปสู่ในทางปฏิบัติต่อไป
“ภายหลังโควิด19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง จะมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งด้านกฎหมาย กลไกการจัดการในภาพรวม การดำเนินการด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ และการสื่อสารให้สังคมเกิดความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายคือประชาชนอยู่กับโควิด19 ได้อย่างปลอดภัยและดำเนินชีวิตได้เป็นปกติซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการพิจารณาในที่ประชุม ศบค.วันที่ 23 ก.ย. นี้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป